อัศวมุข, อัศวมุขี หมายถึง ว. มีหน้าเป็นหน้าม้า. (ส.; ป. อสฺสมุขี).
น. ชื่อพระราชพิธีเพื่อประกาศพระบรมเดชานุภาพของพระราชาธิราชในวรรณคดีอินเดีย โดยจะทรงปล่อยม้าอุปการพร้อมทั้งกองทัพให้เข้าไปในประเทศต่าง ๆ ถ้าประเทศใดไม่ยอมอ่อนน้อมกองทัพจะเข้าโจมตีเมื่อครบ ๑ ปีแล้วกองทัพก็ยกกลับพร้อมทั้งพระราชาที่ถูกปราบพระราชาธิราชก็จะจัดพระราชพิธีโดยฆ่าม้านั้นบูชายัญ เรียกว่าพิธีอัศวเมธ. (ส.).
[อัดสะวะ] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อัศวินี มี ๗ ดวง, ดาวคอม้าดาวคู่ม้า ดาวม้า หรือ ดาวอัสสนี ก็เรียก.
[อัดสะวานึก] น. กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธาจตุรงคเสนา หรือจตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก(กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ส. อศฺวานีก; ป. อสฺสานีก).
[อัดสะวิน] น. นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนําหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อนเวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).
(สำ) น. ผู้ที่มาช่วยแก้ไขสถานการณ์ที่คับขันให้กลับดีขึ้น.
[อัดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑ มี ๗ ดวง เห็นเป็นรูปคอม้าหรือหางหนู,ดาวคอกม้า ดาวคู่ม้า ดาวม้า หรือ ดาวอัศวยุช ก็เรียก.
[อัดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑ มี ๗ ดวง เห็นเป็นรูปคอม้าหรือหางหนู,ดาวคอกม้า ดาวคู่ม้า ดาวม้า หรือ ดาวอัศวยุช ก็เรียก.